วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
-ประวัติการก่อตั้งบุคคลัภย์
ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งนับเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกของชาวสยามนั้น
เริ่มต้นขึ้นในนาม
“บุคคลัภย์” (Book Club) โดย
พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
๕
ทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ที่จะให้มีสถาบันการเงินของสยามเป็นฐานรองรับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจการเงินของประเทศ
สืบเนื่องมาจากในสมัยรัชกาลที่ ๔
หลังจากไทยเปิดประตูกับประเทศตะวันตกอิทธิพลของจักรวรรดินิยมตะวันตกกำลังแผ่เข้ามาคุกคามดินแดนสยามเป็นอย่างมาก
เป็นเวลาที่ชาวต่างประเทศจากทวีปยุโรปและอเมริกา
กำลังขยายเส้นทางการค้าขายมาทางตะวันออกอย่างรวดเร็ว
และนับตั้งแต่ประเทศไทยทำสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศอังกฤษ ที่เรียกว่า “สัญญาเบาว์ริ่ง” ใน พ.ศ. ๒๓๙๘
ได้มีการทำสัญญาการค้าเช่นเดียวกันนี้ กับประเทศฝรั่งเศส โปรตุเกส เดนมาร์ค
เนเธอร์แลนด์ และรัสเซีย เป็นต้น
ซึ่งมีธนาคารของชาวตะวันตกตามเข้ามาเปิดบริการลูกค้าของตนในกรุงเทพฯ
เช่น ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์ด
ธนาคารอินโดจีน นอกจากนี้ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑
ยังมีชาวอังกฤษคบคิดกันจะตั้ง “แบงก์หลวงกรุงสยาม”โดยให้คนไทยซื้อหุ้นได้ไม่เกิน
๕๐ เปอร์เซ็นต์ ทำท่าว่าจะเป็นการยึดการคลังของประเทศ
ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชการที่ ๕ )
ทรงเห็นความจำเป็นในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรป เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาอารยประเทศและเพื่อทำให้ประจักษ์ถึงฐานะและบทบาทของไทยที่มีความ “ศิวิไลซ์” เช่นเดียวกับอารยประเทศอื่นๆในสังคมโลก
โดยมีความคิดในการจัดตั้ง “ธนาคารกลาง”
(National Bank) เป็นธนาคารของประเทศ
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจ้าอยู่หัวและพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหมื่นมหิศรราช-หฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งตามเสด็จประพาสยุโรป
ดูงานการธนาคารมาเป็นเวลา ๙ เดือน
จึงทรงดำริตรงกันที่จะตั้งสถาบันการเงินของไทยขึ้นบ้างแต่ต่อมาทรงเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวจะมีอุปสรรคมาก
โดยเฉพาะขาดความร่วมมือจากที่ปรึกษาการคลังของประเทศซึ่งเป็นชาวอังกฤษในขณะนั้น
ด้วยเหตุผลว่า
“...เรื่องแบงก์กิงจะคิดกับพวกอังกฤษคงไม่มีทางสำเร็จเพราะเป็นการผิดทางที่เขาเป็นคนกับทั้งเป็นข้าราชการของอังกฤษ
ซึ่งจำต้องรักษาผลประโยชน์ของอังกฤษเป็นธรรมดา ... รู้สึกว่าเขาไม่อยากให้เรามีกำลังที่จะตัดผลประโยชน์ในธุระของชาติเขา...แลร้องว่าในประเทศอินเดีย
รัฐบาลก็หาได้ตั้งแนชนัลแบงก์ไม่...”
ดังนั้นจึงทรงระงับการจัดตั้งธนาคารกลางไว้ก่อน แนวคิดในการจัดตั้ง
“ธนาคารกลาง” ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
ที่ถูกระงับไปก่อนเนื่องจากที่ปรึกษาการคลังชาวอังกฤษไม่เห็นด้วยและไม่ให้การสนับสนุน
แต่ด้วยตระหนักถึงความยากลำบากของคนไทย
และพ่อค้าชาวจีนที่ไม่ได้รับความสะดวกจากธนาคารต่างประเทศในไทยเท่าที่ควร
จึงทรงมุ่งมั่นในการจัดตั้ง “ธนาคารพาณิชย์ของไทย” ขึ้น
เพื่อจะได้เป็นกำลังในการตั้งธนาคารของชาติขึ้นได้ในเวลาต่อไป
ในที่สุดสถาบันการเงินแห่งแรกของคนไทยก็แอบเปิดขึ้นได้ในวันที่ ๔
ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ โดยใช้ตึกแถวของพระคลังข้างที่ ที่บ้านหม้อเป็นสำนักงานแห่งแรกในชื่อ “บุคคลัภย์”
ให้มีความหมายเป็น “Book Club” ซึ่งชื่อ
“บุคคลัภย์” นั้น กรมหมื่นมหิศราฯ
ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าไว้ว่า
“สำหรับคนไทยฟัง ก็คิดแปลเล่นขันๆ ไม่รู้ว่าอะไร
ถ้าฝรั่งฟังก็เข้าใจว่าปับบลิกไลเบรรี และทำอะไรต่ออะไรให้เคลือบคลุม
เพื่อไม่ให้ทราบว่าจัดแบบแบงก์กิง...”
และได้มีการกำหนดไว้ ในหนังสือบริคณฑ์สนธิ หรือที่เรียกว่า
“หนังสือแจ้งความเรื่องตั้งบุคคลัภย์” ว่าเป็นกิจการห้องสมุด
มีหนังสือประเภทต่างๆไว้บริการให้สมาชิกอ่านและยืมได้ เพื่อแสดงตนเป็นกลลวงต่างประเทศบางกลุ่ม แต่ในทางปฏิบัติ
บุคคลัภย์ดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ รับฝากเงินโดยให้ดอกเบี้ย
- การดำเนินงานของบุคคลัภย์
“บุคคลัภย์” เป็นกิจการที่ดำเนินงานด้วยชาวไทย
สามารถให้บริการตลอดจนชี้แจงระบบการหักบัญชี
การโอนเงินด้วยเช็คแก่ลูกค้าไทยจีนได้เป็นอย่างดี บรรดาพ่อค้า นักธุรกิจและทางราชการ จึงนิยมใช้บริการกันอย่างมากมาย ปริมาณเงินรับเข้าและจ่ายออกจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
หลังการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของบุคคลัภย์สามารถดำเนินการไปได้ดี กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย จึงตัดสินพระทัยที่จะเริ่มประกอบธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะด้านการแลกเปลี่ยนเงินตรา
พระองค์ทรงตระหนักดีถึงความสำคัญของธุรกิจด้านการค้าต่างประเทศ
ดังนั้นเพื่อให้ธนาคารที่จะทรงตั้งขึ้น
สามารถดำเนินธุรกิจด้านนี้ได้อย่างกว้างขวาง มีตัวแทนอยู่ในทวีปยุโรป
รวมทั้งเพื่อให้พนักงานของธนาคารได้มีโอกาสเรียนรู้วิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับการติดต่อด้านการค้าต่างประเทศ
พระองค์จึงทรงเชิญชวนให้ดอยซ์เอเชียติสแบงก์ (Deutsch Asiatische Bank) ของประเทศเยอรมนี
และเดนดานส์เกลานด์มานด์สแบงก์ (Den Danske Landmancls Bank) ธนาคารจากประเทศเดนมาร์ก เข้ามาร่วมถือหุ้น
พ.ศ.
๒๔๔๘ บุคคลัภย์จึงเริ่มดำเนินธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศ
รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเงินตราขึ้นโดยบรรดาพ่อค้าไทยและจีน
โดยเฉพาะพ่อค้าข้าวและกิจการโรงสีข้าว
ซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญของไทยขณะนั้นไม่เคยได้รับความเอาใจใส่จากสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมาก่อน
เมื่อมีบริการธนาคารที่ไม่เลือกบริการแตกต่างกันระหว่างลูกค้า
จึงต่างก็นิยมมาใช้บริการของบุคคลัภย์กันอย่างมากมายธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม
และเป็นธุรกิจที่สร้างผลกำไรให้กับบุคคลัภย์อย่างมากมาย
จากการทดลองดำเนินงานธนาคารพาณิชย์
แล้วขยายขอบเขตของธุรกิจให้กว้างขึ้นเรื่อยๆ จนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ก็คงจะสามารถดำเนินกิจการธนาคารไปได้ตลอดรอดฝั่ง
กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
จึงทรงตัดสินพระทัยที่จะตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้นดำเนินงานอย่างเปิดเผยและทรงตระหนักดีถึงความสำคัญของธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะด้านการแลกเปลี่ยนเงินตรา
ซึ่งเป็นธุรกิจที่สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศผูกขาดไว้ทั้งหมด
เมื่อบุคคลัภย์ประสบความสำเร็จ
เป็นที่เชื่อถือของคนไทยกิจการได้ขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว และจึงเปิดตัวเป็นธนาคารอย่างเต็มตัว
โดยกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษ จัดตั้งเป็น “บริษัท
แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด” ในวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๔๔๙
โดยพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ ให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้อย่างเป็นทางการ
โปรดเกล้าฯให้ใช้ตราอาร์มแผ่นดินมีข้อความว่า “ตั้งโดยพระบรมราชานุญาต”
ติดหน้าธนาคารเป็นแห่งแรก
จนในสมัยรัชกาลที่
๖ จึงเปลี่ยนตราอาร์มทุกแห่งเป็นตราครุฑทางการท่ามกลางการต่อต้านอย่างหนักจากธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
และถูกขยายผลกลายเป็นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ
เนื่องจากอังกฤษและฝรั่งเศสต่างจดจ้องและจับผิดไทยในเรื่องนี้มากเรื่องที่ว่า
การที่เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีส่วนในการบริหารงานธนาคารพาณิชย์
ย่อมเป็นการไม่ยุติธรรมแก่ธนาคารพาณิชย์อื่นๆ เหตุการณ์จึงเปลี่ยนไปเป็นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศขึ้น
จนกระทั่ง นายเวสเตนการ์ด(Mr. Westengard) ที่ปรึกษาราชการทั่วไปของรัฐบาลเสริมว่า “ประเทศทั้งสองอาจจะเรียกร้องจากไทยก็ได้”
ดังนั้นเพื่อป้องกันมิให้ชาติตะวันตกใช้ความไม่พอใจนี้
เป็นข้ออ้างในการบีบบังคับทางการเมืองต่อไทยกับทั้งเพื่อยุติการขัดขวางความพยายามในการก่อตั้งธนาคารพาณิชย์ของคนไทย
กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยจึงทรงตัดสินพระทัยเสียสละโดยขอลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ด้วยทรงเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
ส่งผลให้การบีบคั้นกดดันจากอังกฤษและฝรั่งเศสที่มีต่อไทยมาตลอด ๑ ปี
จึงยุติลงได้ในที่สุด
นับตั้งแต่นั้นมาก็กลายมาเป็น
“ต้นแบบธนาคารไทย” โดยริเริ่มนำระบบและแนวคิดของการให้บริการ รับฝากเงินออมทรัพย์
และบริการบัญชีกระแสรายวัน (Current
Account) ถอนเงินโดยใช้เช็คมาให้บริการแก่ประชาชนและในปี พ.ศ.
๒๔๕๑ บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล
ทุนจำกัดได้ย้ายจากบ้านหม้อไปอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตลาดน้อย สัมพันธวงศ์ผู้ถือหุ้นชาวต่างประเทศได้ขอถอนหุ้นทั้งหมดและผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศก็ขอลาออก
ดังนั้น แบงก์สยามกัมมาจล
จึงไม่มีผู้ถือหุ้นสำคัญเป็นชาวต่างประเทศมาตั้งแต่ครั้งนั้น
การขยายสาขาของแบงก์สยามกัมมาจล
จากการที่มีชนชาติอังกฤษเข้าไปทำเหมืองแร่ดีบุกอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทยเป็นอันมาก
นอกจากนี้กิจการสวนยางพาราก็มีการดำเนินงานที่ภาคใต้กว้างขวางขึ้น
ธนาคารจึงได้ตัดสินใจเปิดสาขาขึ้นที่อำเภอทุ่งสง ชุมทางรถไฟสายใต้
จังหวัดนครศรีธรรมราช ใน พ.ศ. ๒๔๖๓
ในภาคเหนือของประเทศ
กิจการป่าไม้ที่ชาวอังกฤษดำเนินการอยู่ จึงได้เปิดสาขาขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่
และกิจการผลิตใบยาสูบในภาคเหนือเป็นธุรกิจที่สำคัญ จึงเปิดสาขาขึ้นที่จังหวัดลำปาง ในพ.ศ.
๒๔๗๓ นับได้ว่า
แบงก์สยามกัมมาจลได้นำระบบธนาคารสาขาเข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
- จากแบงก์สยามกัมมาจล สู่ ธนาคารไทยพาณิชย์
ที่มารูปภาพ : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjUo4RFaXqNJB9wJzGl1w1UwC9QAcdIBgz8cEadNf82_VHqiEwkIw0J0VGD4L6Q5uaRIVQ-ISZloKmjH8jNtnDa_EsmMbSwiNg8jeS3CcD_sHpaE3wJlCyNDeJgaonHRl-G_LGIBcyAd39d/s1600/Slide3.JPG
ในช่วงที่สยามประเทศต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง และจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด ในขณะนั้นได้เปลี่ยนชื่อตามนโยบาย “เชื้อชาตินิยม” ของรัฐบาลที่เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ในวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ เพื่อรับกับการเปลี่ยนชื่อประเทศ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด” พร้อมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารของธนาคารใหม่ให้ชาวไทยที่มีความรู้ความสามารถได้ขึ้นเป็นผู้บริหาร แทนที่จะเป็นชาวตะวันตกแบบเดิม
หลังจากเปลี่ยนชื่อเป็น
“ธนาคารไทยพาณิชย์” ได้เพียง ๒ ปี สงครามมหาเอเชียบูรพาก็เกิดขึ้น
โดยกองทัพญี่ปุ่นได้ยาตราเข้าสู่ประเทศไทย ในคืนวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
เพื่อขอเดินทัพผ่านไปยังแหลมมลายูและประเทศพม่า รัฐบาลไทยจำต้องให้ความร่วมมือ
และในที่สุดได้ประกาศสงครามกับสัมพันธมิตรในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ด้วยสภาพการณ์ที่กล่าว
การค้าต่างประเทศของไทย
จึงทำได้กับเฉพาะประเทศญี่ปุ่นและดินแดนในอาณัติของประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
แต่แม้เช่นนั้น ธนาคารก็ยังสามารถขยายสาขาออกไปยังภูมิภาคได้อีก ๑
แห่งที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าพืชไร่จำนวนมาก
ทั้งเป็นที่ต้องการในฐานะสินค้าสำคัญใน พ.ศ. ๒๔๘๕
หลังจากนี้
ธนาคารก็แต่งตั้งชาวไทยที่มีความสามารถมาดำรงตำแหน่งนี้ตลอดมา
นอกจากนี้ผลของสงครามครั้งนี้
ยังทำให้สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่เป็นคู่สงครามของประเทศญี่ปุ่นต้องปิดกิจการลง จึงมีการตั้งธนาคารของชาวไทยขึ้นดำเนินงานแทนหลายธนาคาร
ได้แก่ ธนาคารมณฑล จำกัด (พ.ศ.๒๔๘๕) ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (พ.ศ. ๒๔๘๗)
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (พ.ศ. ๒๔๘๗) ธนาคารแห่งกรุงศรีอยุธยา จำกัด (พ.ศ. ๒๔๘๘)
และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (พ.ศ. ๒๔๘๘)
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่
๒ สงบลงใน พ.ศ. ๒๔๘ แล้ว ความต้องการสินค้าทางการเกษตรยังคงมีอยู่สูงมาก
จึงเป็นผลทำให้สินค้าทางการเกษตรของไทยมีราคาสูงขึ้นในตลาดโลก
การส่งสินค้าออกก็เริ่มเฟื่องฟูขึ้น
มีการตั้งบริษัทสั่งสินค้าเข้าและส่งสินค้าออกเกิดขึ้นอย่างมากมาย
ประกอบกับประเทศไทย
มีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
โดยธนาคารแห่งประเทศไทยที่เปิดดำเนินการใน พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นผู้ควบคุม
เมื่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้นกลับสู่สภาพปกติ
และเริ่มขยายตัวเจริญขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะของสงครามในประเทศเกาหลีระหว่าง
พ.ศ. ๒๔๙๒ –๒๔๙๔ที่ทำให้สินค้าออกของประเทศไทย ทั้งข้าว ยางพารา และดีบุก
อันเป็นสินค้ายุทธปัจจัยมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการ
การค้าระหว่างประเทศจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว
และมีธนาคารพาณิชย์ของไทยได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการขึ้นอีก ดังเช่น
ธนาคารแหลมทอง (พ.ศ. ๒๔๙๑) สหธนาคารกรุงเทพ(พ.ศ.๒๔๙๒) ธนาคารไทยทนุ (พ.ศ. ๒๔๙๒)
ธนาคารเกษตร (พ.ศ. ๒๔๙๓) ธนาคารทหารไทย (พ.ศ. ๒๕๐๐)
ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์ของไทยกำลังก่อตั้งขึ้นอย่างมากมายนี้
ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ขยายสาขาออกไปอีก ๖ สาขา ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
หลังจากประเทศไทยได้นำเอาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาเป็นแผนนำ ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมาตั้งแต่
พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นต้นมา
-พัฒนาการด้านระบบเทคโนโลยีของธนาคารไทยพาณิชย์
จากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ปี
พ.ศ. ๒๕๔๐
ส่งผลให้สถาบันการเงินไทยทั้งระบบประสบปัญหาใหญ่
และส่งผลกระทบให้ต้องมีการเพิ่มทุนจำนวนมหาศาล
และต้องเพิ่มความระมัดระวังในการบริหารเงินทุน และได้ประจักษ์ว่า
การมุ่งให้บริการแก่ลูกค้าบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งส่วนมากยังคงมีปัญหา
จึงจำเป็นต้องให้ความระมัดระวังมาก
จึงได้มุ่งไปสู่การให้บริการกับลูกค้ารายย่อยมากขึ้น
และประกอบกับธนาคารต่างชาติที่เข้ามา
ทำให้การบริการกับลูกค้ารายย่อยมีปัญหา
จึงนับว่าเป็นการเพิ่มความรุนแรงในการแข่งขัน
เพื่อจะให้การบริการของธนาคารไทยพาณิชย์มีมากขึ้น
โดยที่ธนาคารได้นำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ และช่องทางใหม่ๆ ในการให้บริการมากขึ้น
ในปัจจุบันการให้บริการกับลูกค้ารายย่อยนั้น
นอกจากการให้บริการผ่านเครือข่ายสาขา ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่
ได้แก่ การให้บริการผ่านเครื่อง ATM (Automatic Teller Machine)
และการให้บริการธนาคารทางไกลผ่านระบบโทรศัพท์
ผ่านระบบคอมพิวเตอร์บุคคลหรือผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และผ่านทางโทรศัพท์ที่บ้าน
เป็นต้น ซึ่งช่องทางใหม่ในการให้บริการดังกล่าว
ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วในระบบการธนาคารในประเทศที่พัฒนาแล้ว
ยิ่งกว่านั้นการขยายตัวของปริมาณธุรกิจธนาคารบางประเภท
ยังทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง ซึ่งในปัจจุบันและในอนาคตความแตกต่างของธนาคาร
จะไม่ใช่ข้อจำกัดทางการแข่งขันอีกต่อไป
เพราะธนาคารขนาดเล็กสามารถที่จะพัฒนาธุรกิจให้มีความเชี่ยวชาญจนมีลูกค้ามาใช้บริการมากมาย
และมีต้นทุนที่ต่ำกว่าธนาคารขนาดใหญ่ได้ดังจะพบว่าประเทศต่างๆ
ในแถบภูมิภาคเอเชียมีการขยายช่องทางธุรกิจของธนาคารให้หลากหลายขึ้น
โดยมีการพยายามเพิ่มจำนวนเครือข่าย ATM เป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า
โดยที่ความจำเป็นในการใช้บริการผ่านสาขาก็ยังคงมีอยู่มากเช่นเดียวกัน
จากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น
ตามการขยายตัวของธุรกิจของประเทศ กิจการธนาคารที่ต้องอาศัยระบบเทคโนโลยีต่างๆ
ก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ธนาคารไทยพาณิชย์
จึงได้นำเครื่องบันทึกบัญชีระบบแม่เหล็ก มาใช้งานด้านเงินฝาก
ทำให้การทำงานของพนักงาน มีความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ธนาคารได้พิจารณา
เรื่องการสร้างสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ เพื่อให้มีพื้นที่ทำงานมากขึ้น
เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของธุรกิจและบุคลากรในที่สุดจึงได้มีการพิจารณาที่ดิน
บริเวณหัวถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และประกวดแบบสร้างอาคาร แบบที่ธนาคารเลือกใช้
เป็นของสำนักงานดวงทวีศักดิ์ ชัยยาและสหาย ดำเนินการก่อสร้าง
โดยบริษัทประมวลพัฒนาการจำกัด มีบริษัทพัฒนาช่างจำกัด และบริษัทราชาจำกัด
เป็นผู้ตกแต่งภายใน
พ.ศ. ๒๕๑๔ เริ่มให้บริการฝากถอนต่างสาขา
อาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑๐๖๐ ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี
กรุงเทพฯ เปิดใช้งาน เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๑๔ องค์ประธานในพิธี
เปิดอาคารสำนักงานใหญ่ คือ พระวรวงศ์เธอ- กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ของที่ระลึกที่ธนาคารแจกให้แก่ผู้มาร่วมงาน คือที่ทับกระดาษทองเหลือง มีอักษรย่อ
ธ.ท.พ. และ แท่นทองเหลือง แขวนตราอาร์ม อักษรย่อ ธ.ท.พ. ลงยาสีเหลือง แดง เขียว
และหนังสือที่ระลึก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ มีการก่อสร้างเพิ่มเติม อีกหนึ่งอาคารบนพื้นที่เดียวกัน
กิจการของธนาคาร
เติบโตอย่างรวดเร็วมาก จนกระทั่ง สำนักงานใหญ่ ที่ถนนเพชรบุรีซึ่งเปิดดำเนินงานได้
ประมาณ ๕-๖ ปี ก็มีพื้นที่ไม่เพียงพอ
คณะกรรมการของธนาคาร จึงตัดสินใจสร้างอาคารเพิ่มขึ้น เป็นอาคารทำงาน ๑๒ ชั้น และอาคารจอดรถ ๘ ชั้น มีที่ทำการชั้นบน ๒ ชั้น รวมเป็น ๑๐ ชั้น ในพื้นที่ติดกัน
สำนักงานดวง
ทวีศักดิ์ ชัยยาและสหาย ผู้ออกแบบตั้งแต่ครั้งแรก เป็นผู้ออกแบบสร้างอาคารใหม่
เพื่อให้อาคารทั้งกลุ่ม มีลักษณะรูปแบบคล้ายกัน บริษัท ซี.อี.เอส.
เป็นผู้ก่อสร้างธนาคารใส่ใจดูแลรักษาอาคารเดิม ที่มีอยู่เป็นอย่างดีเสมอมา
จนกระทั่งสาขาตลาดน้อย และสาขาถนนเพชรบุรี ได้รับพระราชทานรางวัล “สยามสถาปัตย์
๒๕”อาคารอนุรักษ์ดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ทั้งสองแห่ง
พ.ศ. ๒๕๑๖ ธนาคารเริ่มรับพนักงานสตรีเข้าปฏิบัติงาน
สาเหตุหนึ่งคือ เพื่อความเสมอภาคในการทำงาน
ทั้งบุรุษและสตรี และลักษณะงานบางอย่าง เหมาะสมกับสุภาพสตรีมากกว่า
พ.ศ. ๒๕๑๘ ธนาคารไทยพาณิชย์
ได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาใช้งานในธนาคาร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ เริ่มจาก Singer
System ๑๐ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ใช้กับงานด้านบัญชี
เงินฝากเดินสะพัด ต่อจากนั้น ได้เริ่มนำข้อมูลของงานด้านสินเชื่อ
เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย โดยในระยะแรก เป็นเพียงการทำรายงาน
ด้านลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชี ในลักษณะของการวิเคราะห์และการควบคุม
ประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๒ ธนาคารได้เริ่มก่อตั้ง
และพัฒนาเครือข่าย สาขา/สำนักงานต่างประเทศ ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป
ในช่วงแรกมี ๔ แห่ง คือ
- สำนักงานตัวแทนนิวยอร์ก (เปิดเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒)
- Siam Commercial Finance Ltd., Hong Kong ซึ่งต่อมา เปลี่ยนเป็นสาขาฮ่องกง (เปิดเมื่อ วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๒)
- สาขาลอนดอน (เปิดเมื่อวันที่ ๑๔
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔)
- สาขาลอสแอนเจลีส (เปิดเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕)
พ.ศ. ๒๕๒๒ ธนาคารเริ่มลงทุนซื้อเครื่องจักร ลงบัญชีโอลิเวตตี้ เอ-๕ จำนวน ๑๐
เครื่อง มูลค่า ๒
ล้านบาทเศษ เครื่องจักรลงบัญชีนี้ สามารถคำนวณดอกเบี้ยได้โดยอัตโนมัติ
และมีตัวเลขคุมบัตร ทำให้การลงบัญชีเป็นไปอย่างถูกต้อง
สาขารุ่นแรกที่เริ่มใช้เครื่องเหล่านี้คือ สาขาศิริราช สาขาบางกะปิ สาขาบางลำพู
สาขาลาดพร้าว และสาขารามาธิบดี
จากนั้นมา
การให้บริการธนาคาร ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์
เป็นส่วนประกอบสำคัญก็มากขึ้นเป็นลำดับ เช่น
- เริ่มติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM ระบบ ๔๓๐๐ (พ.ศ. ๒๕๒๒)
- เริ่มให้บริการธุรกิจบัตรเครดิต (เริ่มวันที่ ๒ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๒๔) ของบริษัท VISA International ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๒๕
- เริ่มเปิดใช้คอมพิวเตอร์ที่สาขาต่างๆ ในกรุงเทพฯ จำนวน ๑๕
สาขา และ
- เริ่มมีบริการฝากถอน ต่างสาขาโดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยทดลองกับบัญชีของพนักงานเป็นการภายในก่อน แล้วเปิดบริการแก่ลูกค้าเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๕
พ.ศ. ๒๕๒๖ ธนาคารไทยพาณิชย์
ได้สร้างมิติใหม่ ของการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองไทย
ด้วยการเปิดให้บริการเงินด่วน ATM (Automatic Teller Machine) เป็นธนาคารแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
การริเริ่มบริการนี้ ประสบความสำเร็จอย่างมาก
ทำให้ภาพลักษณ์ของธนาคาร เปลี่ยนไปเป็นธนาคารที่ทันสมัย
และก้าวขึ้นมายืนหยัดอยู่หัวแถว ในเรื่องเทคโนโลยีในขณะเดียวกัน
ในเชิงธุรกิจก็ทำให้เพิ่มฐานลูกค้า กับส่วนแบ่งตลาด ได้มากขึ้น
ธนาคารได้รับพระกรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงทดลองใช้ บัตรเอทีเอ็มส่วนพระองค์ กับเครื่องที่ตั้งอยู่ ณ
ตึกกองธุรการที่ประทับ พระราชวังดุสิต สวนจิตรลดา และพระราชทานบัตรให้แก่ธนาคารฯ
พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย จึงนำมาจัดแสดงไว้ให้ทุกท่านได้ชมด้วยผลจากการริเริ่ม
นำเอทีเอ็มมาให้บริการ ไม่เพียงแต่จะเป็น การวางรากฐาน การบริการทางการเงิน และเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ
ระบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่ยังมีผลอย่างสำคัญ
ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การถือเงินสดของคนไทย
จากเดิมที่มักจะเก็บเงินสดติดตัวไว้เป็นจำนวนมาก เกินความจำเป็นในแต่ละช่วง
ลูกค้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยฝากเงินไว้กับธนาคารมากขึ้น
และถอนเงินไปใช้เท่าที่จำเป็น ในแต่ละคราว
เนื่องจากสามารถถอนเงินสดไปใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
ตลอดเวลาที่ต้องการแม้ในวันหยุด นอกเหนือจาก ความสะดวกในการฝากเงิน โอนเงินและสอบถามยอดบัญชีตลอดจนการชำระค่าสาธารณูปโภค
ค่าสินค้า และค่าบริการต่างๆ รวมทั้งบริการจ่ายเงินเดือนผ่านระบบธนาคาร
ให้แก่หน่วยงาน ทั้งทางราชการและเอกชน ที่สามารถใช้จาก
บริการเงินด่วนของธนาคารไทยพาณิชย์ได้
พ.ศ. ๒๕๒๘ บริการธนาคารทางโทรศัพท์ (Tele-Banking) วิวัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เสียงพูด ประสานกับเทคโนโลยี
ทางการสื่อสารข้อมูล ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์ สามารถนำมาประยุกต์
เป็นบริการธนาคารทางโทรศัพท์ เมื่อกลางปี พ.ศ. ๒๕๒๘
ซึ่งลูกค้าบัญชีเงินฝากทุกประเภท สามารถสอบถามยอด และโอนเงินระหว่างบัญชีได้
ทั้งโอนระหว่างบัญชีของตนเอง หรือโอนชำระค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น นอกจากนั้นยังใช้บริการ เพื่อให้ธนาคารดำเนินการ
ตามคำสั่งที่เกี่ยวกับบัญชีออมทรัพย์ อาทิการสั่งระงับการจ่ายเงินตามเช็ค
ระงับการใช้บัญชี และจัดส่งรายการบัญชีเดินสะพัด (Statement) โดยลูกค้าใช้รหัสประจำตัวของตน นับเป็นก้าวสำคัญ ในการนำระบบธนาคาร
ไปให้บริการแก่ลูกค้าอย่างใกล้ชิด อันเป็นการทำลายกำแพงแห่งเวลา
และระยะทางในการติดต่อ ระหว่างลูกค้ากับธนาคารได้อย่างสิ้นเชิง ธนาคารขยายบริการเงินด่วน ATM ครอบคลุมปริมณฑลของกรุงเทพฯ
และให้บริการข้ามเขตกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ มีศูนย์ออนไลน์ภาคตะวันออก
ที่จังหวัดชลบุรี และออนไลน์ ๔ จังหวัดภาคเหนือ คือ ลำปาง ลำพูน เชียงราย และแพร่
เสริมด้วยบริการใหม่ ให้ผู้ถือบัตร ATM คือ
บริการโทรธนกิจ หรือ Tele-Cash โดยการใช้บัตร ATM ตัดเงินเข้าบัญชีของร้านค้า หรือสถานบริการได้ทันที ทั้งนี้เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๘ ณ ห้างสรรพสินค้าโรบินสันราชดำริ
พ.ศ. ๒๕๒๙ เปิดพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ที่สาขาตลาดน้อย
ซึ่งเคยเป็นสำนักงานใหญ่ ของธนาคารในอดีต โดยเก็บรวบรวมเอกสาร
ในการดำเนินงานของธนาคารไทยพาณิชย์ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ในอดีต
มาแสดงให้ประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสชื่นชมและศึกษาถึงประวัติความเป็นมา
และวิวัฒนาการในการดำเนินงานธนาคารมรดกของไทยแห่งนี้เมื่อธนาคารประสบปัญหา
สำนักงานใหญ่ มีพื้นที่ไม่พอเพียงกับ ปริมาณงานที่เพิ่มสูงขึ้น จำนวนลูกค้า
และพนักงานที่เพิ่มมากขึ้น ตามการขยายตัวของธนาคาร
รวมทั้งเพื่อเตรียมรองรับความเจริญเติบโตในอนาคตจึงพิจารณา สร้างสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ขึ้น
ที่ SCB Park เลขที่ ๙ ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร ระหว่างแยกรัชโยธิน และแยกรัชวิภา ธนาคารได้รับ
พระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด
สำนักงานใหญ่เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคมพ.ศ. ๒๕๓๙ มี Robert G. Boughey and Associates
Architects and Planners Co., Ltd. เป็นสถาปนิก
เริ่มงานตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ. ๒๕๓๙
พ.ศ. ๒๕๕๐ ธนาคารดำเนินกิจการครบ ๑๐๐ ปี ธนาคารได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จมาในงานฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ธนาคารไทยพาณิชย์
เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๐ พร้อมกันนี้ ได้เสด็จเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย
หลังจากปรับปรุงใหม่แล้วด้วย
-ความสัมพันธ์กับสังคมในปัจจุบัน
การที่ธนาคารมีความพยายามที่จะปรับปรุงแนวคิดพัฒนาการบริการให้ดียิ่งขึ้น
ทั้งส่วนของการคิดค้นรูปแบบของบริการใหม่ ที่จะทำให้ผู้คนได้รับความสะดวกสบาย
และเกิดความพึงพอใจ พร้อมๆกัน กับให้ธนาคารมีความก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ท่ามกลางยุคเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในปัจจุบันนี้ไม่เพียงแต่การพยายามปรับรูปแบบของการบริการให้ดียิ่งขึ้นเพียงเท่านั้น
ธนาคารยังคงตระหนักถึงความสำคัญของกิจกรรมเพื่อสังคม ทั้งเรื่องของ
“เด็กและเยาวชน”
ซึ่งถือว่าจะเป็นอนาคตของชาติในวันข้างหน้า จึงมีมติในการจัดตั้ง “ มูลนิธิสยามกัมมาจล”
ขึ้น และธนาคารยังให้ความสำคัญกับ
ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านการจัดทำ “โครงการ CSR” หรือ รายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
ที่ระบุเกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการประกอบกิจการให้บริการด้านการเงินของธนาคาร
โครงการ CSR
การจัดทํารายงานแห่งความยั่งยืนธนาคารจัดทํารายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านรายงานประจําปี
(Annual
Report) โดยจัดแยกหมวดหมู่อย่างชัดเจน เช่น
การดําเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม, รายงานการปฏิบัติตามหลักการกํากับดูแลกิจการรายงานคณะกรรมการสรรหาค่าตอบแทน
และบรรษัทภิบาล และธนาคารยังอยู่ในระหว่างการศึกษาและวางแผนในการพิจารณาจัดทํารายงานการพัฒนาอย่างยังยืน
(Sustainable Development Report) ตามมาตรฐานสากล Global
Reporting Initiative (GRI)
โครงการ CSR ในกระบวนการทําธุรกิจธนาคารมุ่งมั่นในการยกระดับการทําแผนงานหรือโครงการ CSR
in process โดยการคํานึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
ด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
ธนาคารให้ความสําคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมในเรื่องเกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด
โดยธนาคารได้มีการรณรงค์ภายใต้กรอบ 3R (Reduce / Reuse / Recycle) ภายใต้โครงการต่าง ๆ ที่ธนาคารริเริ่มและคิดค้นพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของธนาคาร
ได้แก่
- การให้ลูกค้าเลือกรับหรือไม่รับ Slip ATMรวมถึงการจัดทําขนาดของ Slip ATM ให้มีขนาดเหมาะสม เพื่อเป็นการใช้กระดาษอย่างคุ้มค่า
- การจัดส่งข้อความ (SMS) ผ่านโทรศัพท์มือถือ
- บริการชําระภาษีผ่านบัตรเครดิต
- บริการชําระเงินค่าไฟฟ้าออนไลน์
- ด้านอาคารสถานที่ทํางานSCB Group Office Renovation มีการนําหลอดไฟชนิดประหยัดพลังงาน T5 และพรมที่ทําจากวัสดุที่นํากลับมาใช้ใหม่ อีกทั้งมีการรณรงค์ปิดไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้
ซึ่งล้วนเป็นนวัตกรรมทางการให้บริการทางการเงินที่เอื้อต่อลูกค้าของธนาคารในการทําธุรกรรมทางการเงินได้จากสถานที่ทํางานหรือสถานที่พักอาศัย
ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันลดการใช้พลังงานซึ่งถือเป็นการตระหนักถึงปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของผู้คนในสังคมปัจจุบัน
มูลนิธิสยามกัมมาจล
ประวัติการก่อตั้ง
ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ก่อตั้ง มูลนิธิสยามกัมมาจล
(Siam
Commercial Foundation) ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๘
เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการในส่วนของกิจกรรมเพื่อสังคม ธนาคารนำคำว่า
“สยามกัมมาจล” มาตั้งเป็นชื่อมูลนิธิ จึงถือเป็นการยืนยันถึงเจตนารมณ์ขององค์กร
ที่คำนึงถึงประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศชาติ ที่มีมานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
รวมไปถึงอนาคต
ในระยะแรก
มูลนิธิสยามกัมมาจล มีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม
การอนุรักษ์ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม จนกระทั่ง ปี พ.ศ.๒๕๕๑ ธนาคารจึงมอบหมายให้
มูลนิธิสยามกัมมาจล เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเยาวชนและชุมชน
ทั้งนี้ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเยาวชน
ผู้ซึ่งจะเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศนั่นเอง
“มูลนิธิสยามกัมมาจล
มีความเชื่อว่า การพัฒนาประเทศจำเป็นจะต้องสร้างจิตอาสาให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
เพราะสำนึกของการอาสาเสียสละเพื่อส่วนรวมเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติอีกทั้งเป็นการเสริมพลัง
(SYNERGY)ให้การดำเนินงานด้านต่างๆ
เกิดผลสำเร็จอันจะส่งผลให้การพัฒนาประเทศชาติเจริญก้าวหน้าไปอย่างสมดุล
มีความร่มเย็นเป็นสุขอย่างแท้จริง”
“จิตอาสา”
ในความหมายของมูลนิธิสยามกัมมาจล คือ การแบ่งปันศักยภาพของตนเองกับผู้อื่น หรือ
สังคม โดยจิตอาสานั้น ต้องเกิดขึ้นจากความตระหนักภายในใจของบุคคลผู้นั้นเอง
มิใช่การถูกกำหนดให้ทำ
ดังนั้นหน้าที่หลักของเรา คือ
ช่วยกันบ่มเพาะให้เด็กพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่เด็ก ที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ
ไม่ได้หมายความแค่ฉลาดเรียนดี หรือเก่งแต่ในตำรา แต่ ต้องเป็นคนรู้จักคิดเป็น
ทำเป็น ริเริ่มสร้างสรรค์กล้าตัดสินใจ ทำงานเป็นทีม มี ความเป็นผู้นำ
รับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่กับการเป็นคนจิตใจดี มีน้ำใจ และมี
จิตอาสาพร้อมจะแบ่งปันศักยภาพของตนกับสังคม
"มูลนิธิสยามกัมมาจล"
ย่อว่า ส.ก.จ.
เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า
THE
SIAM COMMERCIAL FOUNDATION ย่อว่า SCFO
เลขไทยที่ ๑
หมายถึง ปฐมบท ก้าวแรกของการริเริ่ม
สีแดง หมายถึง พลังอำนาจ
วรรณะกษัตริย์ เลือดในจิตวิญญาณของการรังสรรค์
เปลวสีทองกนกสามตัวที่ไหวพลิ้วรอบเปลวฉาน แสดงถึงความรุ่งเรืองเถือกเถลิงไปสู่อนันต์บนพื้นสีม่วง
"ธนาคารไทยพาณิชย์ในอนาคต"
ที่มารูปภาพ : http://km.tup.ac.th/SMEs/image/pic1-resize/95.jpg
แนวโน้มของธนาคารไทยพาณิชย์
จำกัดในอนาคตนั้นไม่สามารถแน่นอนได้
เนื่องจากเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นทุกๆวัน
ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการบริการมากขึ้นเพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้บริการ
จากแผนพัฒนาของผู้บริหารธนาคารต่างๆไม่ได้มีแค่ธนาคารไทยพาณิชย์เท่านั้นที่ต้องมีการพัฒนาระบบการให้บริการต่างๆให้ดียิ่งขึ้น
แต่ธนาคารอื่นๆก็มีการพัฒนาระบบการให้บริการให้ทันสมัยตามยุคตามสมัยเช่นเดียวกัน
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่
บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า "ธนาคารไทยพาณิชย์ ทุนจำกัด
มีความพร้อมในการลงทุนขยายสาขาในต่างประเทศเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคารมีการปรับปรุงระบบการทำงานเพื่อให้เกิดมาตรฐานระดับเวิลด์คลาส
ส่วนประเทศที่ธนาคารไทยพาณิชย์ได้มีความสนใจในการเข้าไปลงทุนในอนาคตคือ ประเทศพม่า
เนื่องจากตอนนี้พม่าได้เปิดประเทศแล้วจึงเป็นโอกาสดี
เพราะการเปิดตลาดที่พม่าได้จะทำให้สามารถเชื่อมต่อไปยังจีนและอินเดียด้วย"
ดังนั้นในอนาคตแม้เราจะไม่รู้ว่าธนาคารไทยพาณิชย์นั้นจะมีรูปแบบบริการใหม่ๆอะไรเกิดขึ้นบ้าง
แต่สิ่งที่เป็นไปได้อย่างแน่นอนคือระบบการให้บริการของธนาคารไทยพาณิชย์นั้นยังคงต้องพัฒนารูปแบบการบริการให้ทันสมัยขึ้นไปอย่างเนื่องเพื่อรองรับความสะดวกสบายแก่ลูกค้าที่ได้เข้ามาใช้บริการของธนาคารไทยพาณิชย์ต่อไป
ความสำคัญต่อวัฒนธรรมและสังคมไทย
ที่มารูปภาพ : http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/001_all_Khim/money/h6.JPEG
ความสำคัญต่อวัฒนธรรมไทยและสังคมอดีต
การเกิดธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารแห่งแรกของประเทศไทยถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย
เป็นผลให้สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด
จากเพียงการก่อตั้งธนาคารเพื่อประโยชน์ของประชาชนในชาติ และทางด้านเศรษฐกิจมั่นคงของประเทศ
นั้นกลับมีผลสำคัญอย่างมากต่อวัฒนธรรมไทยเช่นกัน
จากการต้องการเปิดการค้ากับต่างชาติ
เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจนั้น
ทำให้เกิดการหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมต่างชาติ และภาษาต่างประเทศ เช่นกัน
จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการกลืนกลายผู้คนในสังคม และยังมีผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรม
ที่มีการผสมผสานไทยและต่างชาติมากขึ้น รวมทั้งเทคโนโลยีและวัฒนธรรมที่มาพร้อมกัน
มากไปกว่านั้น ยังส่งผล ต่อการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย จาก
แบบเลี้ยงตนเอง เป็น ผลิตเพื่อตลาด มากขึ้น ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ก้าวกระโดดอย่างมากจากการเข้ามาของวัฒนธรรมต่างชาติ
ต่อรูปแบบเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเองของไทย ที่เป็นมาเมื่ออดีตหลายร้อยปี
ความสัมพันธ์ต่อสังคมปัจจุบัน
ธนาคารไทยพาณิชย์ได้จัดตั้งองค์กรการกุศล
เพื่อสังคมและเยาวชนผ่านการจัดทำโครงการต่างๆ
ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงามที่ธนาคารพยายามสรรสร้างเพื่อผู้คนในสังคมไทย ดังเช่น มูลนิธิสยามกัมมาจล (Siam
Commercial Foundation) ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๘ เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการในส่วนของกิจกรรมเพื่อสังคม
ธนาคารนำคำว่า “สยามกัมมาจล” มาตั้งเป็นชื่อมูลนิธิ
จึงถือเป็นการยืนยันถึงเจตนารมณ์ขององค์กร ที่คำนึงถึงประโยชน์ต่อประชาชน
และประเทศชาติ ที่มีมานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงอนาคต
แนวโน้มความสัมพันธ์ต่อสังคมในอนาคต
จากกการศึกษาเรื่องบุคลลัภย์ในมุมมองของอดีต ปัจจุบัน
อาจมองแนวโน้มความสัมพันธ์ในอนาคตต่อสังคมได้ว่า
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีสิ้นสุด ด้วยในยุคของโลกไร้พรมแดน
การพัฒนาของเทคโนโลยีต่างๆ และรวมทั้ง การเปิดการค้า AEC ในกลุ่มประเทศ ASEAN ล้วนมีผลต่อรูปแบบการให้บริการของธนาคารในอนาคตทั้งสิ้น
แม้เราจะไม่รู้ได้ชัดว่าธนาคารไทยพาณิชย์นั้นจะมีรูปแบบบริการใหม่ๆอะไรเกิดขึ้นบ้าง
แต่สิ่งที่เป็นไปได้อย่างแน่นอนคือระบบการให้บริการของธนาคารไทยพาณิชย์นั้นยังคงต้องพัฒนารูปแบบการบริการให้ทันสมัยขึ้นไปอย่างเนื่องเพื่อรองรับความสะดวกสบายแก่ลูกค้าที่ได้เข้ามาใช้บริการของธนาคารไทยพาณิชย์ต่อไป
บทสรุป
ที่มารูปภาพ : http://www.checkraka.com/uploaded/knowledge/article/1604991/scb_1.jpg
ธนาคารไทยพาณิชย์เกิดขึ้นจากการปรับตัวเพื่อ “ ทำการค้าของชาติตะวันตก” ซึ่งมีความสำคัญต่อสังคมและวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก
ทำให้การใช้จ่ายทางการเงินเปลี่ยนไป
และเกิดธนาคารไทยมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากต่อ “ระบบการเงินของไทย”ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นความพยายามเพื่อคนไทยเพื่อ “การมีอิสระทางการเงิน”อาจกล่าวได้คือ“เป็นธนาคารไทย เพื่อคนไทย
แห่งแรกของไทย” ซึ่งมีประวัติศาสตร์คู่ชาติไทยมาอย่างยาวนาน
บรรณานุกรม
- ดร.พรนพ พุกกะพันธุ์ – ประเสริฐชัย ไตรเสถียรพงศ์. การบริหารธนาคารพาณิชย์ (The Commercial Bank Managemant) .โรงพิมพ์ จามจุรีโปรดักท์ ๒๕๕๔. ๓๖๗ หน้า.
- ไทยพาณิชย์. ๒๕๕๙. ธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์.(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.scb.co.th/th/personal-banking/electronic-banking. ๒๓ เมษายน ๒๕๕๙
- ไทยศึกษา / คณะกรรมการวิชาภาษาไทย ศูนย์วิชาบูรณาการ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ; ยุพร แสงทักษิณ,ประอรรัตน์ ตั้งกิตติภาภรณ์, บรรณาธิการ. -- พิมพ์ครั้งที่ ๗. – ๒๑๐หน้า.
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน. ๒๕๕๙. นโยบายองค์กรเรื่องการรับผิดชอบต่อสังคม.(ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.set.or.th/sustainable_dev/th/sr/knowledge/files/Awards2554_SCB.pdf. ๒๓ เมษายน ๒๕๕๙
- พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย. ๒๕๕๙. ต้นแบบธนาคารไทย.(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.thaibankmuseum.or.th/museum302.php. ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘
- มูลนิธิสยามกัมมาจล. ๒๕๕๙. เกี่ยวกับเรา(มูลนิธิสยามกัมมาจล).(ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.scbfoundation.com/about/about.php. ๒๖. เมษายน ๒๕๕๙
- สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. ๒๕๕๙. พัฒนาการธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย.(ออนไลน์). แหล่งที่มา:http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=13&chap=11&page=t13-11-infodetail03.html. ๒๗ เมษายน ๒๕๕๙
- หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมลฑลกรุงเทพฯ. ๒๕๕๙. ธนาคารแห่งแรกของสยาม.(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://haab.catholic.or.th/PhotoGallery/photos/bang1/bang1.html. ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๙
- MYMONEY LET YOUR MONEY WORKS FOR YOU. ๒๕๕๙. ธนาคารแห่งแรกในประเทศไทย.(ออนไลน์).แหล่งที่มา : https://mymoney.wordpress.com/2007/01/05/first-bank-in-thailand/.๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙
- THAI E-COMMERCE ASSOCIATION. ๒๕๕๙. ความรู้เบื้องต้นE-Commerce.(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.thaiecommerce.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538636758. ๒๓ เมษายน ๒๕๕๙
คณะผู้จัดทำ
สมาชิกกลุ่ม B๔ สาว สาว สาว
หมู่ ๑๕๐
หมู่ ๑๕๐
๑. นางสาวธนวรรณ สิทธิศุข ๕๘๑๐๘๕๑๙๕๙ ลำดับที่๖
๒.นางสาวอรวรา สุวรรณประภาพร๕๘๑๐๘๕๑๙๗๕ ลำดับที่๘
๓. นางสาวมณปรีย์ญา บุญล้อม ๕๘๑๐๘๕๒๐๕๐ ลำดับที่๑๓
๔. นางสาวกัณฐิกา ไทยลี่ ๕๘๑๐๘๕๕๒๘๘ ลำดับที่๑๙
๕. นางสาวกุลธิดา ทองเชื้อ ๕๘๑๐๘๕๕๓๐๐ ลำดับที่๒๑
๖. นางสาวปรียา บุญธนะสาร ๕๘๑๐๘๕๕๔๓๑ ลำดับที่๒๙
๗. นางสาวปัทมา รอดรัมย์ ๕๘๑๐๘๕๕๔๔๐ ลำดับที่๓๐
๘. นางสาวรัตติยา ทะวงศ์เงิน ๕๘๑๐๘๕๕๔๙๑ ลำดับที่๓๓
๙. นางสาวศตพร แก้วใจเย็น ๕๘๑๐๘๕๕๕๑๒ ลำดับที่๓๕
๑๐. นางสาวอติกานต์ สหศักดิ์กุล ๕๘๑๐๘๕๕๕๖๓ ลำดับที่๔๐
๑๑. นางสาวอรอนงค์ เพ็งธรรม ๕๘๑๐๘๕๕๕๘๐ ลำดับที่๔๑
๒.นางสาวอรวรา สุวรรณประภาพร๕๘๑๐๘๕๑๙๗๕ ลำดับที่๘
๓. นางสาวมณปรีย์ญา บุญล้อม ๕๘๑๐๘๕๒๐๕๐ ลำดับที่๑๓
๔. นางสาวกัณฐิกา ไทยลี่ ๕๘๑๐๘๕๕๒๘๘ ลำดับที่๑๙
๕. นางสาวกุลธิดา ทองเชื้อ ๕๘๑๐๘๕๕๓๐๐ ลำดับที่๒๑
๖. นางสาวปรียา บุญธนะสาร ๕๘๑๐๘๕๕๔๓๑ ลำดับที่๒๙
๗. นางสาวปัทมา รอดรัมย์ ๕๘๑๐๘๕๕๔๔๐ ลำดับที่๓๐
๘. นางสาวรัตติยา ทะวงศ์เงิน ๕๘๑๐๘๕๕๔๙๑ ลำดับที่๓๓
๙. นางสาวศตพร แก้วใจเย็น ๕๘๑๐๘๕๕๕๑๒ ลำดับที่๓๕
๑๐. นางสาวอติกานต์ สหศักดิ์กุล ๕๘๑๐๘๕๕๕๖๓ ลำดับที่๔๐
๑๑. นางสาวอรอนงค์ เพ็งธรรม ๕๘๑๐๘๕๕๕๘๐ ลำดับที่๔๑
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)